วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

"คำนมัสการคุณานุคุณ"

  คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ความเป็นมาคำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
-  พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมังนะมัสสามิ
    คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ
   คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูงเรียนรุ้เพิ่มเติม..



"มงคลสูตรคำฉันท์"

    มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
         ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะคำประพันธ์ :  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี
       จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง อ่านเพิ่มเติม



"นิราศนรินทร์คำโคลง"

นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย  เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์ (ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้เรียนรุ้เพิ่มเติม



"อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง"

เนื้อเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง มีดังนี้  ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง  ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวก..อ่านต่อ..



วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

"ทุกข์ของชาวนาในบทกวี"


      บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านเพิ่มเติม..


"หัวใจชายหนุ่ม"


หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน  ศึกษาเพิ่มเติม.

'นิทานเวตาล เรื่องที่10'


   ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก  ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร..เรียนรู้เพิ่มเติม..