นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์
ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์
"และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ
นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ
กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง
ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง
มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้
เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด
แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย
เนื้อหาของ
นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ
มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก
โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์ (ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี)
แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ
จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้…เรียนรุ้เพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น