วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

"คำนมัสการคุณานุคุณ"

  คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ความเป็นมาคำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
-  พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมังนะมัสสามิ
    คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ
   คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูงเรียนรุ้เพิ่มเติม..



"มงคลสูตรคำฉันท์"

    มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
         ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะคำประพันธ์ :  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี
       จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง อ่านเพิ่มเติม



"นิราศนรินทร์คำโคลง"

นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย  เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์ (ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้เรียนรุ้เพิ่มเติม



"อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง"

เนื้อเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง มีดังนี้  ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง  ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวก..อ่านต่อ..



วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

"ทุกข์ของชาวนาในบทกวี"


      บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านเพิ่มเติม..


"หัวใจชายหนุ่ม"


หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน  ศึกษาเพิ่มเติม.

'นิทานเวตาล เรื่องที่10'


   ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก  ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร..เรียนรู้เพิ่มเติม..


"มหาเวสสันดรชาดก"


     "พระเวสสันดร"เป็นโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้าสัญชัยแห่งแคว้นสีพี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 ปี ได้อภิเษกสมรสกับ"พระนางมัทรี"เจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มีพระโอรสและพระธิดา คือ "ชาลี"กุมาร และ"กัณหา"กุมารี   พระเวสสันดรใจบุญมาก สร้างโรงทานไว้บริจาคคนยากจน 6 แห่ง ต่อมาได้บริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอ ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันกราบทูลพระเจ้าสัญชัยให้เนรเทศออกจากเมือง พระเจ้าสัญชัยจำต้องยอมทำตามมติของมหาชน พระเวสสันดรเองก็ยอมรับมตินั้น แต่ก่อนจากไปนั้นได้ทูลขอบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เรียกว่า สัตตสดกมหาทานคือให้ของอย่างละ 700 เป็นทาน มีช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว วัวนม 700 ตัว รถ 700 คัน นารี 700 นาง ทาส 700 คน ทาสี 700 คน ผ้าอาภรณ์อย่างละ 700 จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงกัณหา และเจ้าชายชาลี ไปจนถึงเขาวงกต ในป่าหิมพานต์แล้วได้บวช เป็นฤาษีแยกกันอยู่ โดยพระโอรสพระธิดาอยู่กับพระนางมัทรี ต่อมา พราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก มาทูลขอชาลีกุมาร กับกัณหากุมารีพระเวสสันดรก็ได้ยกให้โดยตีราคาค่าตัวสองกุมารีว่ามี..เรียนรู้เพิ่มเติม.